Sanriku Coast

บทสัมภาษณ์โคบายาชิ ทาเคชิ
(ตอนแรก)

ทาเคชิ โคบายาชิ | ประธานคณะกรรมการการจัดงานเทศกาลรีบอร์น อาร์ต เฟสติวัล

พบกับผู้อยู่เบื้องหลังของงานเทศกาลรีบอร์น อาร์ต เฟสติวัล

Photo by Reborn Art Festival [《White Deer (Oshika)》โดยนาวะ โคเฮย์ 2017, โองิโนะฮามะ ]

  • Visit Miyagi Team

    นักเขียน

  • เมื่อช่วงฤดูร้อนปี 2017 ได้มีการจัดงานเทศกาลศิลปะประสม “Reborn-Art=ศิลปะชีวิตมนุษย์” ที่เมืองอิชิโนะมากิ จังหวัดมิยางิ ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากสึนามิจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นภาคตะวันออก และผู้ที่เป็นโต้โผในการจัดงานเทศกาลนี้ก็คือ โคบายาชิ ทาเคชิ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์ที่เป็นผู้นำวงการดนตรีในญี่ปุ่นมานานหลายปี

    2 ปีหลังจากงานเทศกาลดังกล่าว ในฤดูร้อนของปีนี้จะมีการจัดงานเทศกาลประสมศิลปะสมัยใหม่-อาหาร-ดนตรีที่สะท้อน “ชีวิต” ดั้งเดิมของมนุษย์ที่โทโฮคุอีกครั้ง

งานเทศกาลศิลปะในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ? เริ่มต้นได้อย่างไร?งานเทศกาลศิลปะในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ? เริ่มต้นได้อย่างไร?  ภัยพิบัติชักนำให้พบกันอีกครั้ง การพูดคุยครั้งหนึ่งในชีวิต ภัยพิบัติชักนำให้พบกันอีกครั้ง การพูดคุยครั้งหนึ่งในชีวิต หนทางของดนตรีที่เกิดขึ้นจากการด้นสดและความบังเอิญหนทางของดนตรีที่เกิดขึ้นจากการด้นสดและความบังเอิญ

งานเทศกาลศิลปะในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ? เริ่มต้นได้อย่างไร?
ผมเป็นนักดนตรีและโปรดิวเซอร์ดนตรี แต่อีกด้านผมก็เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ชื่อว่า “ชมรม ap bank” มาตั้งแต่ปี 2003 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปี 2001 มีเหตุการณ์ก่อการร้ายมากมายพร้อมกันที่นิวยอร์ก ผม, พี่ใหญ่ (ซาคาโมโตะ ริวอิจิ) และซากุราอิ คาสึโทชิจากวง Mr. Children จึงได้ร่วมกันก่อตั้งชมรมในธีม “การสร้างสังคมที่ยั่งยืน” เมื่อปี 2003

ในปี 2007 มีเหตุแผ่นดินไหวชายฝั่งจูเอ็ตสึ ชมรมนี้ก็จัดกิจกรรมอาสาสมัครในการทำอาหาร ต่อมาในปี 2011 ที่มีเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นภาคตะวันออก ก็มีจิตอาสามากมายจัดตั้งฐานที่อิชิโนะมากิ และนี่ก็เป็นเหตุที่ทำให้ผมเริ่มจัดกิจกรรมฟื้นฟูและสนับสนุนท้องถิ่นอย่างจริงจังนับแต่นั้นเป็นต้นมา

[ ภาพการจัดกิจกรรมอาสาสมัครแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นภาคตะวันออกโดยชมรม ap bank | Reborn Art Festival ]

หลายเดือนหลังจากเหตุภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุคุชิมะ ขณะที่ผมกำลังตั้งคำถามเกี่ยวกับเศรษฐกิจและชีวิตมนุษย์ ก็มีงานเทศกาลดิ เอจิโกะ-สึมาริ อาร์ต ทรีเอนเนียลที่นีงาตะ แล้วเพื่อนก็ชวนผมให้ไปดู
ในอนาคต จะมีเฉพาะเมืองใหญ่ที่จะเติบโตมากขึ้น ในขณะที่ท้องถิ่นจะถดถอยลง ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้จะเป็นเหมือนกันทั้งโลก แต่ผมกลับได้พบกับคนที่กล้าพูดว่าโลกของเราอยู่ได้ด้วยการใช้ชีวิตอย่างสดใสของผู้คนในท้องถิ่น เขาคือคุณฟราม คิตะงาวะ (Fram Kitagawa) ผู้จัดการทั่วไปของงานเทศกาลนี้
การที่ผมได้เห็นความเป็นอยู่ในยุคปัจจุบันนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการจัดงานที่อิชิโนะมากิ ก็เลยได้ออกมาเป็นงานเทศกาลศิลปะประสมที่มีการรวมกันระหว่างศิลปะสมัยใหม่ อาหารที่ทำจากวัตถุดิบท้องถิ่น และดนตรีที่ผมถนัดครับ

[ ตัวอย่างอาหารแจกในการจัดงานเทศกาลครั้งที่ 1 | Reborn Art Festival ]

 ภัยพิบัติชักนำให้พบกันอีกครั้ง การพูดคุยครั้งหนึ่งในชีวิต

เวลาที่พูดถึงภัยพิบัติ เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์ที่เลวร้าย แต่นั่นก็ถือเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ผมรู้สึกว่าการที่คนเราได้ “พบกับ” เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ถือเป็นปฏิกิริยาทางเคมีเหมือนกัน
อย่างงานเทศกาลครั้งที่แล้วก็จัดขึ้นในปีที่มีฝนตกยาวนานเป็นสถิติ 36 วันนับตั้งแต่วันเปิดงาน ซึ่งผมก็เชื่อว่ามีผู้เข้าชมงานที่เข้าใจดีว่านี่แหละคือธรรมชาติ
ภัยพิบัติเป็นตัวเร่งให้ประชากรอพยพออกจากพื้นที่ชายฝั่งมากขึ้น ซึ่งทำให้การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นไปได้ยาก แต่เป้าหมายที่สำคัญในตอนนี้คือการจัดงานเทศกาลศิลปะเพื่อให้มีการพบปะพูดคุย ผมเชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ทุกคนจะได้สัมผัสกับเสน่ห์ของท้องถิ่นที่ไม่มีในเมืองใหญ่และ “การมีชีวิต” ครับ

[ โคบายาชิ ทาเคชิ ประธานคณะกรรมการผู้จัดงาน | Takeru Kasama ]

การจินตนาการถึงความเป็นอยู่ในอนาคตนอกเหนือจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น คือการตีความแบบใหม่ ๆ ของสิ่ง ในด้านลบและด้านบวก ซึ่งก็คือการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ
อย่างผลงานที่ชื่อว่า 《อุบัติ》ของคุณชิมาบุคุ มิจิฮิโระที่เข้าร่วมเทศกาลครั้งที่แล้วก็เป็นการนำไม้ที่ถูกพัดมาที่โนริฮามะมาตั้งเป็นเสาที่ชายหาด ยิ่งผมคิดถึงความหมายของผลงานชิ้นนี้มากเท่าไร ความหมายของงานชิ้นนี้ก็ยิ่งใหญ่มากขึ้นไปกว่าเดิมถึงขั้นที่ผมอยากจะให้ศิลปินอย่างศิลปินท่านนี้สร้างผลงานขั้นต่อไปอีกขั้นหนึ่ง
และจากการที่พูดคุยกันหลาย ๆ ครั้ง ผมได้เข้าใจถึงแนวคิดที่อยู่ในรูปแบบของวลีที่ว่า “สัมผัสแห่งชีวิต” ซึ่งเป็นวลีที่ผมใช้บ่อย ๆ เวลาที่ต้องการจะสื่อถึงการสัมผัสชีวิตอย่างแท้จริง เมื่อตัดสินธีมได้แล้ว หลาย ๆ อย่างก็ดูเข้าที่เข้าทางขึ้นมาทันที

[《อุบัติ》 โดย ชิมะบุคุ มิจิฮิโระ 2017 โนริฮามะ | Reborn Art Festival ]

หนทางของดนตรีที่เกิดขึ้นจากการด้นสดและความบังเอิญ

งานในครั้งนี้จะเป็นงานที่ชื่อว่า กลอน กลิ้ง เกลือก (Rolling Lyric) โดยต้องการที่สื่อถึงข้อดีของการเล่นดนตรีแบบด้นสดและการแสดงดนตรีสด ปัจจุบันนี้มีการแสดงสดที่มีความเร้าใจมากมายและผมก็เชื่อว่าผมเคยแสดงที่เร้าใจผู้ชมเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ความกังวาน และเสียงสะท้อนอาจจะถือเป็น “สัมผัสแห่งชีวิต” ที่แท้จริง ผมจึงตั้งใจที่จะสร้างเสียงในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน รวมไปถึงการบรรเลงดนตรีที่สอดประสานไปกับผลงานศิลปะด้วย
คำว่า “กลอน กลิ้ง เกลือก” ในภาษาญี่ปุ่นจะพ้องกับคำว่า “หินกลมกลิ้ง” ซึ่งมาจากสุภาษิตของอังกฤษที่ว่า “หินที่กลิ้งบ่อย ไม่มีตะไคร่น้ำขึ้น” แต่ไม่ได้มีความหมายซาดิสต์แบบวงโรลลิ่งสโตนส์นะ มันหมายถึงว่าคนที่ตื่นตัวตลอดเวลาจะกระฉับเฉงไม่ย่ำอยู่กับที่

(โปรดติดตามต่อในตอนหน้า)

[ บรรยากาศการแสดงของ Salyu ที่ด้านหน้า 《White Deer (Oshika)》 (2017) | Reborn Art Festival ]

  • Last Update
    June 27, 2019

    PRINT / PDF

  • [ โปสเตอร์ RAF 2019 | Reborn Art Festival ]

    ประวัติโดยย่อ โคบายาชิ ทาเคชิ Takeshi Kobayashi

    นักดนตรีและประธานชมรม ap bank รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์และบันทึกผลงานของศิลปินชื่อดังในประเทศญี่ปุ่นมากมาย รวมถึงรับหน้าที่ในการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์มากมาย โดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่อง “ผีเสื้อหางติ่ง” และ “ลิลี่ ชูชู แด่เธอตลอดไป” ที่กำกับโดยอิวาอิ ชุนจิ เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ชื่อว่า “ชมรม ap bank” ในปี 2003 โดยเริ่มต้นด้วยการลงทุนในโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และเป็นผู้จัดงานดนตรีกลางแจ้ง ap bank fes และงานช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นตะวันออกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเป็นเจ้าของไร่ในเมืองคิซาราสึ จังหวัดจิบะและผู้ผลักดันโครงการ “วงจรอาหาร” ที่สามารถเข้าถึงได้

    WEBSITEhttps://www.reborn-art-fes.jp/en/

  • Sanriku Coast

    Tags

a

รายละเอียด

ที่อยู่

จัดขึ้นหลายที่ในตัวเมืองอิชิโนมาคิ คาบสมุทรโอชิคะ และเกาะไอจิ

การเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ

มีหลายวิธี สำหรับงานศิลปะในพื้นที่ส่วนกลางของอิชิโนมาคิ สามารถเดินมาจากสถานีอิชิโนมาคิได้

ค่าเข้าชม

RAF พาสปอร์ต (ครอบคลุมการเข้าชมงานศิลปะทั้งหมด*) : ผู้ใหญ่ 3,000 เยน ; นักศึกษาและนักเรียนม.ปลาย 2,500 เยน
*อาหารและตั๋วคอนเสิร์ตแยกต่างหาก เข้าชมเว็บไซต์เพื่อดุรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษา

ภาษาอังกฤษ

เวลาทำการ

งานเทศกาลจัดขึ้นในวันที่ 3 สิงหาคม - 29 กันยายน 2019* เวลาในการรับชมขึ้นอยู่กับงานศิลปะแต่ละชิ้น
งานศิลปะในบริเวณเกาะไอจิ เปิดในวันที่ 20 สิงหาคม - 29 กันยายน 2019

การสำรองล่วงหน้า

สำหรับทัวร์ต้องทำการจอง

วันหยุด

วันพุธ (ยกเว้น 14 สิงหาคม และเมื่อมีกิจกรรมพิเศษ เข้าชมเว็บไซต์เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

หน้าหลัก บทสัมภาษณ์โคบายาชิ ทาเคชิ(ตอนแรก)